คอลัมน์ » เมื่อกลุ่มเปราะบางรับเงินหมื่น!! ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง….

เมื่อกลุ่มเปราะบางรับเงินหมื่น!! ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง….

15 ตุลาคม 2024
25   0

ก็ต้องขอแสดงความยินดีกับกลุ่มเปราะบางและผู้พิการของประเทศไทย 14.5 ล้านคน ที่จะได้รับเงินจากรัฐในวงเงิน 10,000 บาท โดยเริ่มโอนเข้าบัญชีแต่ละคนกันตั้งแต่วันที่ 25 กันยายนนี้เป็นต้นไป

ซึ่งเป็นข่าวที่สร้างความยินดีกับคนกลุ่มนี้ตั้งแต่กลางเดือนที่ผ่านมา

โดยนายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยรายละเอียดเรื่องนี้ว่า โครงการเติมเงิน 10,000 บาทผ่านดิจิตอลวอลเล็ต สำหรับกลุ่มเปราะบางจำนวน 14.5 ล้านคน ซึ่งเป็นเฟสแรก จะเริ่มรับโอนตั้งแต่วันที่ 25-30 กันยายนนี้ เป็นการโอนเงินเข้าระบบพร้อมเพย์ ที่เชื่อมเลขบัตรประชาชน โดยจะแบ่งตามวันที่ดังนี้

วันที่ 25 ก.ย. กรมบัญชีกลางโอนเข้าบัญชีผู้พิการ 2.1 ล้านคนและผู้รับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ ที่เลขหลังบัตรประชาชน 0 จำนวน 3.17 ล้านคน

วันที่ 26 ก.ย. ผู้รับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ ที่เลขหลังบัตรประชาชน 1, 2, 3, จำนวน 4.51 ล้านคน

วันที่ 27 ก.ย. ผู้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่เลขหลังบัตรประชาชน 4, 5, 6, 7, จำนวน 4.51 ล้านคน

วันที่ 30 ก.ย. ผู้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่เลขหลังบัตรประชาชน 8, 9, จำนวน 2.25 ล้านคน

โดยกรมบัญชีกลางโอนผ่านพร้อมเพย์ จัดกลุ่มการโอนเงินแต่ละวันให้กับผู้ได้รับสิทธิ เพื่อไม่ให้กระทบการจ่ายเงินเดือนและอื่นๆ เฉลี่ยจะจ่ายเงินให้ผู้รับสิทธิกลุ่มดังกล่าววันละ 4-5 ล้านคน

ผู้อำนวยการเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง นายพรชัย ฐีระเวช กล่าวกรณีมีผู้ตกหล่นหรือสมัครบัญชีพร้อมเพย์ไม่ทันว่า จะมีการโอนซ้ำให้อีก 3 ครั้งดังนี้

– รอบจ่ายซ้ำครั้งที่ 1 จ่ายวันที่ 22 ตุลาคม 2567 ต้องทำบัตรหรือต่ออายุบัตรประจำตัวคนพิการภายใน 10 ตุลาคม 2567 ผูกบัตรพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน ภายใน 18 ตุลาคม 2567

– รอบจ่ายซ้ำครั้งที่ 2 จ่ายวันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 ต้องทำบัตรหรือต่ออายุบัตรประจำตัวคนพิการภายใน 12 พฤศจิกายน 2567 ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชนภายในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567

– รอบจ่ายซ้ำครั้งที่ 3 จ่ายวันที่ 22 ธันวาคม 2567 ทำบัตรหรือต่ออายุบัตรประจำตัวคนพิการภายใน 3 ธันวาคม 2567 ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชนภายใน 16 ธันวาคม 2567

เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วจะยุติการจ่ายเงิน !!

มาฟังรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายพิชัย ชุณหวัชระชี้แจงถึงเรื่องนี้ด้วยว่า การแจกเงินก้อนแรก 10.000 บาทกลุ่มแรกจากการดูรายชื่อล่าสุดมีประมาณ 14.2 ล้านคน(จาก 14.5 ล้านคน)น่าจะประมาณ 1.4 แสนล้านบาท

“เราได้เช็คแล้ว 96% ได้ดู ได้ทบทวนพร้อมทีมงาน เราน่าจะสามารถกดปุ่มเคาะระฆังให้เงินไหลในวันที่ 25 กันยายนนี้โดยประมาณ หรือวันที่ 26 กันยายนนี้ได้ ส่วนเฟส 2 ที่ลงทะเบียนไว้ 30 ล้านคนภายในปี 2567 “ไม่น่าจะทัน”

และยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัดใดๆว่าในปีหน้า 2567 จะสามารถแจกได้ในเดือนไหน !!

กล่าวถึงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้กันดูหน่อยปะไร…คนไทยได้บินคำว่าดิจิตอลวอลเล็ตเป็นครั้งแรกบนเวทีเปิดตัว สส.แบบแบ่งเขต 400 คนของพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 ก่อนมีการเปิดตัวยอดเงินที่จะเติมลงกระเป๋าตังค์ของประชาชน 10,000 บาท เป็นนโยบายหาเสียงของพรรคนี้ที่เรียกเสียงฮือฮา และเสียงวิจารณ์อย่างมากมายในระหว่างการการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในปี 2566

เมื่อพรรคเพื่อไทยได้เป็นฝ่ายบริหารประเทศ กลับไม่สามารถผลักดันนโยบาย”เรือธง“นี้ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมได้ จนถูกพรรคฝ่ายค้านรุมสับว่าเป็นนโยบาย”เรือเกลือ“

จนกระทั่งบิดาของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ที่ออกมาพูดบนเวทีดินเนอร์ทอร์ค 22 สิงหาคม ถึงการเปลี่ยนรูปแบบการแจกมาเป็นการให้เงินสดกับกลุ่มเปราะบาง รวม 14.5 ล้านคนส่วนที่ลงทะเบียนไว้ 30 ล้านคน ถ้าระบบเสร็จก็จะใช้ระบบดิจิตอลวอลเล็ต และว่าเป็นการ”ยิงนก 3 ตัวด้วยกระสุนนัดเดียว“คือทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ, ให้คนรากหญ้าเรียนรู้เทคโนโลยี, ขยายผลเป็น One-Site ใช้กับทุกบริการภาครัฐได้

ยังมีข้อสังเกตถึงปัญหาของโครงการแจกเงินหมื่น “เฟส 2” อีกนิดก็คือ รัฐบาลจะเอาเงินมาจากไหน? เพราะตั้งเป้าไว้ว่าทั้งเฟส 1 และ 2 ใช้วงเงินถึง 4 แสนล้านบาท เมื่อเฟส 1 ใช้ไปแล้ว 145,000 ล้านบาทต้องหามาอีก 255,000 ล้านบาทเพื่อแจกเฟส 2 นับเป็นเงินก้อนมหึมาทีเดียว !!

ถ้ารัฐบาลสามารถหาเงินมาแจกต่อได้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจแน่อยู่แล้ว…หรือถ้าต้องกู้มาแจก เราและลูกหลานเราก็ต้องร่วมกันใช้หนี้แน่อยู่แล้ว เหมือนกัน !!!



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า