สัคเค กาเมจะรูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิเข วิมาเน, ทีเป รัฏเฐ จะคาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต ภุมมา จายันตุเทวา ในงานพิธีสงฆ์ทุกงานเรามักได้ยินพระสงฆ์ท่านสวดมนต์บทนี้ก่อนจะขึ้นบทอื่นทุกครั้ง เคยสงสัยไหมว่าทำไม
ความจริงการสวดชุมนุมเทวดาในสมัยพุทธกาลไม่ได้มีการสวดชุมนุมเทวดากัน แต่หลังพุทธกาลมาประมาณ 500 ปี พุทธศาสนาได้เจริญขึ้นในศรีลังกา ซึ่งรับเอาอิทธิพลของพราหมณ์มาก่อน ความเชื่อเรื่องเทพเจ้ายังคงฝังรากอยู่อย่างเหนียวแน่น เมื่อบรรดากษัตริย์ราชวงศ์ทั้งหลายต้องการทำพิธีมงคลจึงสร้างบทสวดอัญเชิญเทวดามาช่วยปกปักษ์รักษา การเชิญเทวดามาร่วมอนุโมทนาบุญจึงเริ่มแต่นั้นมา แล้วขยายวงกว้างออกมาถึงชาวบ้าน. และไทยเราได้รับพุทธศาสนามาจากลังกาเรียกว่าลังกาวงศ์ ก็รับเอาวัฒนธรรมนี้มาด้วย
มนพุทธศาสนาเราได้กล่าวถึงเทพเจ้าและเทวดาชั้นต่างๆอยู่หลายที่แม้ในบทสวดหลายๆบทก็มีกล่าวถึงเช่นกัน ดังนั้นแม้จะมีผู้กล่าวว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ว่าด้วยเหตุผล ไม่เชื่อเรื่องภูตผีเทวดา การกล่าวถึงเทวดาของพระพุทธเจ้าเป็นแค่การอุปมาเท่านั้น นั่นก็เป็นความเชื่อของเขา แต่หากศึกษาให้ดีก็จะเห็นว่านี่เป็นความเชื่อที่เตือนด้วยมิจฉาทิฏฐิ นั่นเอง
บทที่อัญเชิญมาเบื้องต้นนั้นเป็นบทที่ใช้สวดก่อนบทพระปริตทั่วไป หากเป็นพิธีในพระราชพิธีต่างๆ จะมีบทอัญเชิญท้าวจาตุมหาราชทั้ง 4 ขึ้นก่อน เชื่อกันว่าเมื่อสวดอัญเชิญแล้วเทพยดาทั้งหลายจะให้ความคุ้มครองให้พิธีนั้นราบรื่น และผู้ร่วมพิธีหรือผู้รำมาสวดเองที่บ้านได้รับการคุ้มครองให้ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวงได้
สำหรับการสวดอัญเชิญเทวดานี้หากจะนำมานำสวดเองก่อนสวดมนต์ทำกรรมฐานก่อนนอนที่บ้านก็สามารถทำได้ เพราะเป็นบทที่กล่าวถึงเทวดาทุกชั้น โดยเฉพาะที่อยู่ใกล้เราที่สุดคือภูมิเทวดา ผีบ้านผีเรือนต่างๆ ให้มาร่วมอนุโมทนาบุญด้วย ถือว่าได้อานิสงส์สูงแบะมีอิทธิฤทธิ์ให้ผู้สวดได้รับความเป็นมงคล แต่เมื่อสวดบทนี้แล้ว ถือเป็นการเชิญเทวดาทั้งหมดไม่มีเว้น. ดังครั้นเมื่อเชิญมาแล้วก็ต้องเชิญกลับด้วย บททุกขัปปัตตาด้วยนะคะ ไม่งั้นเกิดไม่ยอมกลับขึ้นมาก็อาจนำความยุ่งยากมาให้ด้วย อันนี้สำคัญมากค่ะ